จมูกยื่นเป็นหลอด กระดองอ่อนนุ่มติดกับลําตัว กระดองส่วนบนมีปุ่มกลมเรียงเป็นแถวบริเวณขอบด้านหน้าของกระดอง กระดองส่วนบนสีน้ําตาลเทา มีลายกระสีเหลืองและดํา บางตัวมีลายจุดแต้มสีดําเรียงเป็นแถว บางครั้งพบจุดสีเหลืองจํานวนมากในตะพาบขนาดเล็ก กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 83 เซนติเมตร
พบในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน พบตามแหล่งน้ำแทบทุกประเภท ทั้งลําธารในป่า ลําคลอง แม่น้ํา หนองน้ำตื้น จนถึงปากแม่น้ํา การแพร่กระจายในไทย ได้แก่ แม่ฮ่องสอน (แม่สะเรียง); กําแพงเพชร (คลองลาน); อุทัยธานี (ห้วยขาแข้ง); กาญจนบุรี (แม่น้ําแม่กลอง); เลย (ภูหลวง); สระแก้ว (ปางสีดา); จันทบุรี (เขาสระบาป); กรุงเทพฯ; ปทุมธานี (รังสิต);สุราษฎร์ธานี (คลองแสง, ทุ่งเตา); นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง); สตูล (ทะเลบัน); ยะลา (บันนังสตาร์)
พืชและสัตว์ เช่น แมลง ปูกุ้ง หอยทาก หอยสองฝา ปลา สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบน ซาก ผลไม้ และเมล็ด
สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ปัจจัยคุกคาม เนื้อและกระดองถูกใช้เป็นอาหาร และเป็นส่วนประกอบยาจีน
CLASS : Reptilia
ORDER : Testudines
FAMILY : Trionychidae
GENUS : Amyda
SPECIES : Asiatic Softshell Turtle (Amyda cartilaginea)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
ตัวเมียเต็มวัยเมื่อ อายุ 20 เดือน วางไข่ปีละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 5-10 ฟอง ฟักไข่นาน 61-140 วัน
กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 83 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560